วันพุธที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ข้อมูลทั่วไป


 อำเภอ ธารโต




 ประวัติความเป็นมา

    ได้มีการจัดตั้งเป็น ตำบลธารโต เมื่ออำเภอได้รับการยกฐานะ เป็นอำเภอธารโต เมื่อปี พ.ศ.2524 เริ่มแรก มีจำนวน 8 หมู่บ้าน และเมื่อปี พ.ศ. 2535 ได้มีหมู่บ้านแยกไปขึ้นกับตำบลคีรีเขต ซึ่งเป็นตำบลตั้งขึ้นใหม่ จนถึงปัจจุบัน ตำบลธารโต ได้มีการแยกหมู่บ้านจากหมู่บ้านเดิม และมีหมู่บ้านรวมทั้งสิ้น 7 หมู่บ้าน

พื้นที่

ตำบลธารโต มีหมู่บ้านทั้งหมด 7 หมู่บ้าน มีครัวเรือนทั้งหมด 854 ครัวเรือน มีประชากร ทั้งหมด 4,324 คน สภาพพื้นที่ทั่วไปเป็นบริเวณภูเขาสูงชัน ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
 อาณาเขตติดต่อทิศเหนือ ติดต่อกับ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ทิศใต้ ติดต่อกับ อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอศรีสาคร จังหวัดนราธิวาส
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อำเภอบาลิง รัฐเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย
ลักษณะภูมิประเทศ
          สภาพพื้นที่อำเภอธารโต มีพื้นที่ทั้งหมดเป็นภูเขาสูงแบบลูกคลื่นลอนลึกถึงลอนตื้นสลับ ซับซ้อนระดับความสูงเฉลี่ย 300 – 500 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง และมียอดภูเขาที่สูงกว่า 1,000 เมตร อยู่หลายแห่งแม่น้ำ มีลำคลอง 4 แห่ง และมีลำหัวยอยู่ 56 แห่ง นอกจากนี้พื้นที่อำเภอธารโตยังมีอ่างเก็บน้ำเขื่อนบางลาง หรือที่เรียกว่าทะเลสาปธารโตเป็นเนื้อที่ประมาณ 23,750 ไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 48 ของพื้นที่ทะเลสาบทั้งหมด
ภูมิอากาศ     ลักษณะภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม มี 2 ฤดู คือ
          •  ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม อุณหภูมิสูงสุด ( เดือนเมษายน )เฉลี่ยประมาณ 34 องศาเซลเซียส
          •  ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนธันวาคม และฝนจะตกชุกที่สุดในช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึง ธันวาคม
ประชากร
           
มีประชากรทั้งสิ้น 19,413 คน แยกเป็นชาย 10,166 คน เป็นหญิง 9,247 คน มีความหนาแน่นเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ 28.16 คน / ตารางกิโลเมตร

 การปกครอง
           
แบ่งเขตการปกครองตาม พ . ร . บ . ลักษณะปกครองท้องที่ พ . ศ . 2475 เป็น 4 ตำบล 33 หมู่บ้าน ดังนี้
      1. ตำบลธารโต จำนวน 7 หมู่บ้าน
      2. ตำบลคีรีเขต จำนวน 7 หมู่บ้าน
      3. ตำบลบ้านแหร จำนวน 11 หมู่บ้าน
      4. ตำบลหวาด จำนวน 8 หมู่บ้าน
มีเทศบาล 1 แห่ง คือเทศบาลตำบลคอกช้าง
มีองค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง


สภาพสังคม ศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี
1. ข้อมูลด้านการศึกษา
สถานศึกษาจังหวัด
จำนวน ( โรงเรียน )
จำนวนห้องเรียน
สปช .
สศ .
สช .
ตชด .
14
1
1
3
2
10
12
21
     •  การศาสนาและศิลปวัฒนธรรม
     •  การศาสนา ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามประมาณ 70 % ศาสนาพุทธประมาณ 30%
     •  ศิลปวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมประเพณี
ประเพณีลอยกระทง , ทำบุญเดือนสิบ , การแต่งงานแบบพิธีทางศาสนาอิสลาม ,
การแต่งกายแบบอิสลาม , การจัดงานเมาลิด , งานวันสำคัญทางพุทธศาสนา

การสาธารณสุข มีสถานบริการ ดังนี้
     1. มีการใช้บริการด้านการสาธารณสุข โดยมีสถานบริการ ดังนี้
          •  โรงพยาบาล ขนาด 30 เตียง จำนวน 1 แห่ง
          •  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 1 แห่ง
          •  สถานีอนามัยประจำตำบล / หมู่บ้าน จำนวน 7 แห่ง
          •  สำนักงานส่วนมาเลเรีย จำนวน 1 แห่ง
          •  ร้านขายยาแผนปัจจุบัน จำนวน 1 แห่ง
     2. อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
     3. หอกระจายข่าว จำนวน 13 แห่ง ครอบคลุมร้อยละ 70
     4. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
มีสถานีตำรวจภูธรอำเภอ / ตำบล / จำนวน 2 แห่ง ดังนี้
          
•  สถานีตำรวจภูธรอำเภอธารโต
            •  สถานีตำรวจภูธรตำบลแม่หวาด
5) สถานที่ท่องเที่ยว
      
มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่
          •  หมู่บ้านซาไก
          •  ทะเลสาปธารโต
          •  น้ำตกต่าง ๆ ได้แก่
          •  น้ำตกธารโต
          •  น้ำตกละอองรุ้ง
          •  น้ำตกผาแดง
          •  น้ำตกคอกช้าง
          •  ถ้ำต่าง ๆ เช่น ถ้ำลอด
          •  ป่าธรรมชาติ ได้แก่ ป่าบาลา - ฮาลา
6) ปัญหาสำคัญของท้องที่
      
สามารถจัดกลุ่มปัญหาเป็น 7 ด้าน คือ
          •  กลุ่มปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน
          •  กลุ่มปัญหาผลผลิต รายได้ และการมีงานทำ
          •  กลุ่มเป้าหมายสาธารณสุขและการอนามัย
          •  กลุ่มปัญหาความรู้และการศึกษา
          •  กลุ่มปัญหาแหล่งน้ำ
          •  กลุ่มปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ
          •  กลุ่มปัญหาอื่น ๆ

ศักยภาพและโอกาสของอำเภอ
           
1. ทรัพยากรดินและทรัพยากรน้ำ ดินมีความอุดมสมบูรณ์ที่ประกอบด้วยแร่ธาตุต่าง ๆเหมาะแก่การ เพาะปลูก สำหรับแหล่งน้ำมีเพียงพอที่จะนำมาใช้ในการเกษตร จึงเหมาะแก่การพัฒนาให้เป็นแหล่งไม้ผล ทั้งเพื่อการบริโภคในประเทศและเพื่อการส่งออก
           2. ทรัพยากรธรรมชาติที่เหมาะแก่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีทั้งน้ำตกและถ้ำต่าง ๆ ทะเลสาปบนภูเขา มีป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีชนเผ่าซาไก จึงมีศักยภาพและปัจจัยที่พัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ในอนาคต
           3. ที่ตั้งของอำเภออยู่ใกล้ชายแดนประเทศมาเลเซีย มีอำเภอเบตงเพียงอำเภอเดียว ที่กันอยู่ และมีเส้นทางคมนาคมห่างจากชายแดน 40 กิโลเมตร มีศักยภาพที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งสำหรับการส่งออกพืชเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว
           4. ด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน โดยทั่วไปไม่มีเหตุการณ์รุนแรง การดำเนินชีวิตประจำวันของประชาชนเป็นปกติ
8) ผลิตภัณฑ์ในโครงการ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์
           
•  ไม้กวาดดอกอ้อ
           •  ป่าบาลา – ฮาลา
           •  หมู่บ้านซาไก

































ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น